Wednesday, September 5, 2018

การบริหารจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคเหนือ Educational organizing model for sustainable development multiethnic students in northern Buddhist University


บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี 36 รูป/คน ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 3 รูป/คน และผู้ใช้บัณฑิต 8 รูป/คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลในช่วงปี 2554-2559 มหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลากหลายสาขาวิชาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มากกว่า  10 หลักสูตร จัดการเรียนการสอน 2 ภาคคือ ภาคปกติและภาคบ่ายสำหรับพระภิกษุและสามเณร มีนักศึกษามากกว่า 2,000 รูป/คน นักศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละร้อยมาจากชายขอบของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดข้างเคียง มากกว่าร้อยละ 70  ทำงานในเวลากลางคืนและหลังเลิกเรียน โดยเมื่อสำเร็จการศึกษา มากกว่าร้อยละ 80 ปฏิเสธที่จะกลับไปภูมิลำเนาของตนเองเนื่องจากอยู่ไกลความเจริญ ยากจน และไม่มีงานรองรับ จึงต้องการหางานทำในเมืองเชียงใหม่ ยกเว้นพระภิกษุหรือสามเณรที่มีตำแหน่งเป็นผู้รับผิดชอบสอนนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลดังกล่าวเกิดจาก ปรัชญาและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่มุ่งสนองกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาและเกณฑ์ของคุรุสภา มากกว่าดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเพิ่มมูลค่ากำลังคนที่มาจากชายขอบให้สามารถกลับไปพัฒนาบริบทของตนเองได้ จึงมีข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย ต้องมีอิสระในการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแก้วิกฤติด้วยตนเอง โดยการออกแบบโครงสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบท กระบวนการ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถนำประสบการณ์และองค์ความรู้ไปพัฒนาถิ่นกำเนิดได้ย่างยั่งยืนมากกว่าเน้นให้เดินตามโครงสร้างแบบเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ทั้งนี้เพื่อสร้างฐานความรู้ที่ต่อเชื่อมกับการมีความเป็น “คุณลักษณะอุดมศึกษา” สอดคล้องแนวนโยบายของรัฐบาลและของโลกที่ต้องการให้ “การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” และก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก
คำสำคัญ: การบริหารจัดการศึกษา  การพัฒนาอย่างยั่งยืน นักศึกษาพหุชาติพันธุ์  มหาวิทยาลัยสงฆ์
Corresponding Author. E-mail: phasina@yahoo.com
Abstract
This qualitative research paper aimed at presenting the study factors and conditions affected to organizing multiethnic students and to seek more effective educational organizing strategy for Buddhist University. Mahamakut Buddhist University Lanna campus was selected as a sample. Key informants were composed of 36 students, 8 graduate users and 3 administrators. Data were collected by document study, observation, in-depth interview and SWOT Analysis. The study found that more than 10 programs have been offering for around 2,000 students. Of which 100 percent of the undergraduate students are from marginal, poor education background, low income and surrounding provinces. More than 70 percent are employed in night service sectors. After graduation, they refuse to return to their homeland, but searching for jobs in Chiang Mai, except the monks who have taught in Buddhist Scripture schools.  This is a crisis. Factors of the crisis are from misused philosophy and educational organizing strategies which comply with the TQF: HEC and teachers’ professional standard. Mahamakut Buddhist University Lanna campus should be fully autonomous getting rid the crisis by reconstructing  curriculum according to their contexts, inputs, process and products rather than imitating other universities.  It is advised that curriculum must be designed for new higher educated characteristics according to their backgrounds and competency of multiethnic and marginal customers which serve the governmental and global policies that use education to invigorate grassroots economic development.
Keywords:  Educational organizing, sustainable development, multiethnic students, Buddhist University