Wednesday, April 3, 2019

ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอน ตามแนว STEM Education ในสถานศึกษาขนาดเล็ก

ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอน ตามแนว STEM Education ในสถานศึกษาขนาดเล็ก The Strategies for Teachers Competency Development on STEM Education in Small-sized Schools พศิน แตงจวง บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษาของครู 2. ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษาของครูและ 3. เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตและการทดลองหาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ได้รับรางวัล Thailand STEM Education Teacher Awards 4 รูป/คน และ ครูที่ผ่านรอบที่ 1 ช่วงปี 2557-2561 อีก 3 รูป/คน จากสถานศึกษา 5 แห่งสังกัด สพป. สพม.และพระปริญัตติธรรม ตั้งอยู่ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ ครูที่เข้าร่วมการพัฒนาจำนวน 5 รูป/คน และผู้บริหารจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานศึกษาขนาดเล็กตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็ก มีนักเรียน 55-119 รูป/คน มีครู 3-10 รูป/คน ครูไม่ครบวิชา ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาครูจึงร่วมมือกันโดยมีครูประจำวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นแกนสำคัญโดยใช้ความรู้ทางด้านการออกแบบและเทคโนโลยีมาผสมผสาน 2. ปัจจัยและเงื่อนไขของความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ แรงบันดาลใจของครูและผู้บริหารสถานศึกษา 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครู ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำส่งเสริมให้ครูเข้าใจ เข้าถึงบริบทอย่างแท้จริงเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ครูที่เฉื่อยชา 2) ผู้บริหารต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้มากและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยและทำงานเป็นทีม 3) ผู้บริหารต้องใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสโดยจัดให้มี PLC ทั้งในกลุ่มนักเรียนและคณะครูอย่างสม่ำเสมอ 4) ผู้บริหารต้องส่งเสริมหรือแสวงหาความร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอก และ 5) ครูและผู้บริหารต้องร่วมมือกับภายนอกวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาและปฏิบัติตามแผนและเสนอแนะให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการเรียนการสอนตามแนว STEM Education เพื่อต่อยอด คําสําคัญ : สภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา, ครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก, ปัจจัยและเงื่อนไข, ยุทธศาสตร์การพัฒนา ___________ ศาสตราจารย์ หัวหน้าโครงการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา Corresponding author. E-mail: phasina@yahoo.com แหล่งทุนวิจัย: งบประมาณแผ่นดินปี 2561 ABSTRACT: The objectives of this study were to: 1. study the existing situations of small-sized school teachers on STEM Education, 2. identify factors and conditions that effected to small-sized school teachers on STEM Education, and 3. propose strategies for teachers competency development on STEM Education in small-sized schools. Mixed methods were employed in data gathering: in-depth interviewing, observation and verifying the strategies for teachers competency development on STEM Education. Key informants composed of 5 teachers who received Thailand STEM Education Teacher Awards round 1 during B.E. 2557-2561 from 5 schools located in 3 northern provinces, 5 teachers who participated in competency development and 5 schools directors. Findings revealed that: 1. Every small-sized school is located in small and poor communities, with 55-119 students and 3-10 teachers. Each classroom composed of 5-10 students. They are teachers shortening in specific subjects. According to applying the STEM Education, teachers need cooperation among core mathematics, science and other teachers, local wisdom and innovative technology. 2. There are 2 most important key factors and conditions of success: teacher inspirations and school directors 3. Strategies for teachers competency development on STEM Education composed of: School directors must be leaders to stimulate teachers to deeply understand contexts and environments; School directors must build up better relationship between schools and communities and invite local wisdoms to teamwork with schools; School directors must turn crisis into opportunity by applying PLC among students and teachers; while school directors must nurture internal and external collaborations, and finally school committees and everyone must listen to each other and find ways for sustainable development. It is also recommended that higher education instructors continue their teachings by applying STEM Education to nurture students’ creativity competences. Keywords: current situations of STEM Education, small-sized school teachers, factors and conditions, strategies for teachers competency development 1. บทนำ จากการที่นักเรียนสอบ NT, O-NET ตกเกือบทุกวิชาติดต่อกันทุกปี ตอกย้ำด้วยผลการสอบ PISA และ TIMSS(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ป.ป.) ที่ได้คะแนนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยทุกครั้งและยังถูกจัดอยู่อันดับท้าย ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น แต่นักการศึกษาไทยก็ยังไม่มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ(Mounier, Alain and Phasina Tangchuang, 2010) แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาทุก ๆ 5 ปี โดยกำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ดำเนินการแล้วก็ตาม แต่ผลการประเมินล่าสุดพบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียนก็ยังคงต่ำ(Lamphai Intathep, 2014; สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ม.ป.ป.) ซึ่งย่อมหมายถึงการอ่อนด้อยในเชิงวิชาการของเยาวชนไทยเมื่อเทียบกับเยาวชนในกลุ่ม ASEAN ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐบาลฯ จึงได้ปรับโครงสร้างการบริหารและปรับกระบวนการจัดการศึกษาใหม่ โดยมุ่งเน้นการนำกระบวนการ STEM Education เข้ามาใช้ในปี 2012(Sumonta,P; Finley, F.N and Kittisak K. 2018) เนื่องจากเชื่อว่าการที่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การศึกษาต่ำ แสดงถึงการศึกษามีคุณภาพต่ำและหากสภาพการศึกษายังต่ำต่อไป(Berry, B., Johnson, D., & Montgomery, D., 2005; Beatty, Alexandra (2011)). ย่อมส่งผลทำให้ผลผลิตทุกระดับต่ำ การที่ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ทำให้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำและผลิตภาพแรงงาน(labor productivity) ตกต่ำตามไปด้วย (วิทยากร เชียงกูล, 2009; พศิน แตงจวง 2554) ซึ่งไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศโดยเฉพาะในยุค Thailand 4.0 มีงานวิจัยจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่ำเกิดจากคุณภาพการจัดการศึกษา (Darling-Hammond, Linda 2010; Pollard, Andrew and others, 2008; Yeo, Roland K. Yeo, 2008; เบญจ์ กิตติคุณ 2556) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะของครูมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักเรียนอย่างมาก (Phasina Tangchuang. and Alain Mounier., 2552; Blanco, Lorenzo J., online; Miller, Raegen T and others, 2007; กฤษณพงศ์ กีรติกร 2552 ; เบญจ์ กิตติคุณ 2556) รวมถึงกลยุทธ์ในการเสริมแรงนักเรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันของครูผู้สอน(พศิน แตงจวง 2552, 2554) กอปรกับสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ทั้งในรูปของ สิ่งพิมพ์ digital และ hardware และเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า(Breiner, J. M., Carla, C. J., Harkness, S. S., & Koehler, C. M., 2012). ทำให้ทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาประชากรทั้งวัยแรงงานและนอกแรงงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น(Tytler, Russell and Others, 2008) เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและแข่งขันในตลาดแรงงานกับนานาได้(Andersson, Catarina, 2015) ทุนมนุษย์หรือแรงงานทุกระดับต้องมีทักษะและมีความรู้รอบ(Visarut Tangchuang, 2014) กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เร่งผลักดันแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering and Mathematics Education : STEM Education) หรือที่เรียกว่า ระบบ “สะเต็มศึกษา” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การศึกษาไทย (Sumonta,P; Finley, F.N and Kittisak K. 2018) แม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา นักการศึกษาไทยได้นำแนวคิดการจัดการศึกษาจากต่างประเทศมาใช้จำนวนหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (The Integration Method) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning- PBL) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning- PBL) เป็นต้น โดยขาดการติดตามหรือชี้ชัดประเด็นปัญหาพื้นฐานแต่อย่างใด ซึ่ง Ejiwale, James A. (2013); กฤษณพงศ์ กีรติกร (2552) และดนัยรัตน์ กาศเกษม (2561) ชี้ว่า นั่นคืออุปสรรคยิ่งใหญ่ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายซึ่งได้ก่อให้เกิดการ สร้างเครือข่ายทางวิชาการ สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของวิทยากร เชียงกูล (อ้างใน compaq4602213, Online) ที่กล่าวว่า “การจัดการศึกษาให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้น ต้องปฏิรูปครูให้เป็นครูแนวใหม่ รักการอ่านและการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาลูกศิษย์ รู้จักส่งเสริม หรือกระตุ้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง” จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนตาม แนว STEM Education ในสถานศึกษาขนาดเล็กปัจจุบันเป็นอย่างไร 2) มีปัจจัยเงื่อนไขใดบ้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนว STEM Education ในสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 3) การพัฒนาครูให้สามารถพัฒนาตนเอง(Reflexive teachers) ตามแนว STEM ควรใช้ยุทธศาสตร์แบบใด 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษาของครู 2. ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครู และ 3. เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก 3. วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการจัดการเรียนการสอน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกครูที่ได้รับรางวัล และไม่ได้รับรางวัล STEM Education จาก สสวท. สังเกตร่องรอย การจัดการเรียนการสอนของครูที่ได้รับรางวัล และไม่ได้รับรางวัล STEM Education และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหาร เกี่ยวกับปรัชญาการจัดการศึกษา รูปแบบการบริหาร ผลสัมฤทธิ์ ที่ตั้งของสถานศึกษา จำนวนครู จำนวนนักเรียน สภาพพื้นฐานของนักเรียน รวมถึงสังเกตสภาพและบรรยากาศทั่ว ๆ ไป เช่น สภาพภายนอก ได้แก่ สถานที่สำคัญรวมถึงอาชีพในชุมชน สภาพภายใน ได้แก่ ที่ตั้งของสถานศึกษา บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน โดยไม่ต้องการรบกวนหรือให้ผู้ถูกสังเกต ขั้นที่ 2 ศึกษาปัจจัย เงื่อนไขที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนว STEM Education โดย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ขั้นที่ 3 การพัฒนางาน(Action) และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยการนำข้อมูลจากขั้นที่ 2 (SWOT Analysis) นำไปสู่การจัดทำ Tows Matrix เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4. ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้มาโดย 1. เลือกเฉพาะสถานศึกษาที่มีครูได้รับรางวัล STEM Education ตามประกาศผลโดย สสวท. 1.1 ระดับประถมศึกษา(สังกัด สพป.) ได้แก่ โรงเรียนบ้านป่างิ้ว อ.ดอยสะเก็ด และ โรงเรียนบ้างปางไม้แดง อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่ 1.2 ระดับมัธยมศึกษา(สังกัด สพม.) ได้แก่โรงเรียนบ้านกาศประชานุเคราะห์ อ.สูงเม่น จ.แพร่ 1.3 ระดับมัธยมศึกษา(สังกัดพระปริญัตติธรรม) ได้แก่ โรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา อ.เมือง จ.เชียงราย และ โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม (วัดวุฒิมงคล) อ.สูงเม่น จ.แพร่ รวมคณะครูที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักประเภทเดี่ยวจำนวน 4 รูป/คน และประเภททีมจำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 7 คน 2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเสริม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูที่ไม่ได้รับรางวัลแต่ต้องการ พัฒนาตนเอง(reflexive teachers) ให้เป็นครู STEM Education โรงเรียนละ 2 รูป/คน และนักเรียนโรงเรียน ๆ ละ 3 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 25 รูป/คน 5. สรุปผลการวิจัย จากการนำผลการศึกษาบริบทมาทำ SWOT Analysis และ Tows Matrix พบว่า ตาราง 1 ผลการทำ Tows Matrix สถานศึกษา ปัจจัยภายนอก S1 ครูมีแรงบันดาลใจ S2 ความใกล้ชิดระหว่างครู/นักเรียน S3 ครูใกล้ชิดกัน S4 บริหารง่าย W1 ครูขาดแรงบันดาลใจ W2 ครูอัตราจ้าง W3 ขาดงบประมาณ W4 ครูไม่ครบชั้น มีภาระงานมาก W5 นักเรียนเรียนอ่อน มีปัญหา Opportunities O1 ชุมชน(ภูมิปัญญา)ใกล้ชิด O2 หน่วยงานภายนอก O3 มีหน่วยงานฝึกอบรม STEM Education S,O(ยุทธศาสตร์เชิงรุก) S1234O123 ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้ครูเข้าใจบริบท ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม STEM Education และทำ PLC อย่างสม่ำเสมอ W,O(ยุทธศาสตร์เสริมสร้าง) O123 W1345ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้มากและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยและทำงานเป็นทีม Threats T1 สถานศึกษาอาจถูกปิด T2 ผู้ปกครองเศรษฐกิจไม่ดี T3 ผู้ปกครองไม่สนับสนุน S,T(ยุทธศาสตร์ป้องกัน) S1234T12รับฟังความเห็นจากหน่วยเหนือและชุมชน W,T(ยุทธศาสตร์เชิงรับ) W1345 T12 ร่วมกับภายนอกวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาและปฏิบัติตามแผน จากตาราง Tows Matrix สถานศึกษาขนาดเล็กมีทั้งจุดแข็ง นั่นคือ ในสถานศึกษาที่มีครู ได้รับรางวัลจะเป็นครูที่มีแรงบันดาลใจ มีบรรยากาศของความใกล้ชิดระหว่างครู/นักเรียน และผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานแบบพี่น้อง มีการใช้ PLC ขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามแต่ละแห่งก็มีจุดอ่อนคือ ครูที่มีอายุมากจะขาดแรงบันดาลใจ มองเรื่องการขาดงบประมาณเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ครูไม่ครบชั้น-วิชา ทำให้ครูต้องมีภาระงานมาก เป็นปัจจัยและเงื่อนไขของการไม่พัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนว STEM Education นั่นคือ มีข้อเสนอเพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 1) “ยุทธศาสตร์เชิงรุก- S,O” ผู้บริหารต้องประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ครูเข้าใจบริบท เข้ารับการอบรม STEM Education และทำ PLC อย่างสม่ำเสมอ 2) “ยุทธศาสตร์เสริมสร้าง- W,O” ผู้บริหารต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้มากและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยและทำงานเป็นทีม 3) “ยุทธศาสตร์ป้องกัน -S,T” ผู้บริหารและคณะครูต้องรับฟังความเห็นจากหน่วยเหนือและชุมชน 4) “ยุทธศาสตร์เชิงรับ- W,T” ร่วมกันกับภายนอกวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาและปฏิบัติตามแผน 6. อภิปรายผลการวิจัย จากผลสรุปการวิจัย สถานศึกษาขนาดเล็กมีทั้งจุดแข็ง นั่นคือครูและคณะครูที่ได้รับรางวัล ทั้งในระดับชาติและรอบที่ 1 มีความใกล้ชิดกัน มี “แรงบันดาลใจ”(ดนัยรัตน์ กาศเกษม 2561; สิริพร อาษาศึก นุกูลกุด แถลงและวันดี รักไร 2017)) ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น(พรทิพย์ ศิริภัทราชัย 2556) ในชุมชนและได้เชิญชวนภูมิปัญญาชุมชนมาให้ความรู้ให้กับนักเรียน จึงเป็น“ครูเพื่อศิษย์”(วิจารณ์ พาณิช 2553) แม้ว่าผู้บริหารจะให้ความสำคัญหรือไม่ก็ตาม แต่ครูก็คอยสอดส่องแสวงหาแหล่งเรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 3-5 ครั้ง (นุชนาถ สุนทรพันธ์ ม.ป.ป.) ในแต่ละปีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนซึ่งในปัจจุบันมีทั้งสื่อประเภท YouTube เรียนผ่าน online สื่อสิ่งพิมพ์ และจัดฝึกอบรมอย่างแพร่หลาย เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21(วิธวินท์ จันทร์ลือ ศุภาวรรณ ห่วงช้าง และอารยา มุ่งชํานาญกิจ 2561) สอดคล้องนโยบายของ Thailand 4.0 ที่ส่งเสริมให้คนไทยคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาและผลิตนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้(Mounier,A. and Phisana T.,2018) ในทางตรงข้ามครูที่ที่มีอายุมาก จะปิดรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เนื่องจากคุ้นเคยกับการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ขาดแรงบันดาลใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนใหม่เนื่องจากเชื่อว่านักเรียนที่เรียนอ่อนไม่สามารถเรียนได้ดี(พศิน แตงจวง 2552, 2554) จึงไม่มีแรงจูงใจและปฏิเสธที่จะพัฒนาด้วยเหตุนี้ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องใช้ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพด้วยการส่งเสริมให้ครูเข้าใจ เข้าถึงบริบท โดยเฉพาะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอย่างแท้จริง ในแต่ละปีสถานศึกษาต้องทำ SWOT Analysis (Coman, Alex and Ronen, Boaz, 2009; อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ 2016)) ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ติดตาม กระตุ้นให้ครูทุกคนได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาจุดอ่อนและอุปสรรคที่มีให้ได้(Zidan, S. S., 2001) โดยผู้บริหารต้องใช้วิกฤตินั้นให้เป็นโอกาส(Zaniewski, Anna M. and Reinholz, Daniel, 2016) โดยจัดให้มี PLC อย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่จะแสวงหาความร่วมมือจากภายนอกหรือหน่วยเหนือให้ช่วยโดยเฉพาะคณะกรรมการสถานศึกษาและบุคลากรทุกคนต้องยอมรับฟังและร่วมเรียนรู้อย่างแท้จริงเพื่อให้แผนยุทธศาสตร์สามารถดำเนินการได้และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาพ 1 ประมวลภาพ จากข้อมูล field work สู่การพัฒนาเป็นครู STEM Education แบบ Reflexive teacher 7. ข้อเสนอแนะ 7.1 ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ 1. แม้ว่าการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย กรณีศึกษาและพัฒนาตามบริบท มีกรณีศึกษาจำนวนเพียง 5 แห่ง แต่ก็กระจายต่างพื้นที่ ต่างหน่วยงานที่สังกัด และเมื่อวิเคราะห์เจาะลึกแล้วพบว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคไม่ต่างกัน จึงเชื่อว่ายุทธศาสตร์ที่ค้นพบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานศึกษาขนาดเล็กทั่วไป 2. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำหน้าที่บริหารงานวิชาการ นิเทศ เพราะเป็นบุคคลที่ต้องรู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในบริบทถึงจุดแข็ง จุดอ่อนและโอกาส มีความสำคัญมากที่สุดในการให้กำลังใจ(Encourage) กระตุ้น(Motivate) ให้ครูทุกคน ทุกวัย พัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนด้วยการทำ PLC อย่างสม่ำเสมอและที่สำคัญคือผู้บริหารที่ดีจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูได้ด้วยการขอความร่วมมือภูมิปัญญาให้มาช่วยได้อย่างดี 3. ประเด็นที่หน่วยเหนือควรนำไปพิจารณาต่อคือ กลยุทธ์ในการกระตุ้นให้ครูที่ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น เงื่อนไขของการขอย้าย การเลื่อนตำแหน่ง นั้นควรกำหนดให้ครูต้องมีผลงานรางวัลใดรางวัลหนึ่งประกอบด้วย 4. สถานบันอุดมศึกษาทั้งที่ผลิตครูและไม่ผลิตครูควรส่งเสริมให้จัดการเรียนการสอนตามแนว STEM Education เพื่อพัฒนาต่อยอดนักศึกษาที่ได้รับการส่งเสริมให้คิดสร้างสรรค์มาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานและเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์ต่อไป 7.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น เพื่อให้ผลของการวิจัยใช้ได้อย่างกว้างขวาง ควรดำเนินการวิจัยแบบนี้ในภาคอื่น ๆ ของประเทศด้วย และหากได้ข้อสรุปชัดเจน ควรพัฒนายุทธศาสตร์เป็น “คู่มือ” การพัฒนาสมรรถนะครูให้เป็นครูที่พัฒนาสมรรถนะด้วยตนเอง(Reflexive teachers) 2. ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาเพิ่มมูลค่า(value added) ต่อยอดการนำนวัตกรรมบางชิ้นที่เป็น “ต้นแบบ”(prototype) ไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ในชุมชนหรือเพื่อผลิตเชิงการค้าต่อไป 8. เอกสารอ้างอิง กฤษณพงศ์ กีรติกร(2552) วิกฤติ กระบวน ทัศน์ มโน ทัศน์ เพื่อ การ ปฏิรูป การศึกษา สิ่งพิมพ์ สกอ. อันดับที่ สกอ 022 สอ 01/52 นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดนัยรัตน์ กาศเกษม(2561) การสนทนาเกี่ยวกับ STEM Education เมื่อ 7 กรกฎาคม เวลา 11:00-12:30 น. ณ. โรงเรียนบ้านกาศประชานุเคราะห์ อ.สูงเม่น จ.แพร่ นุชนาถ สุนทรพันธ์ (ม.ป.ป.) แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต สืบค้นเมื่อ 10 กค. 2017 จาก http://www.hrd.ru.ac.th/index.php?option=com_weblinks&view=category&id=20%3A-1-1&Itemid=27 เบญจ์ กิตติคุณ(2556) กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พรทิพย์ ศิริภัทราชัย(2556) “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” วารสาร นักบริหาร ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2556 สืบค้นเมื่อ 10 กค. 2559 จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_13/pdf/aw07.pdf พศิน แตงจวง(2552) “บทเรียนจากการดำเนินการกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนโดยใช้ กระบวนการ Reflective teaching ผ่านการบันทึกวีดีทัศน์” ศึกษาศาสตรสาร เล่ม 36 ______(2554) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวง กมล วิจารณ์ พานิช(2553) อิทธิพลนักการเมืองต่อคุณภาพอุดมศึกษา สืบค้นเมื่อ 24 เมย. 2553 จาก http://gotoknow.org/blog/council/362585 วิทยากร เชียงกูล(2009) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา สืบค้นเมื่อ 03 กพ. 2552 จาก: http://witayakornclub.wordpress.com/2009/ วิธวินท์ จันทร์ลือ ศุภาวรรณ ห่วงช้าง และอารยา มุ่งชํานาญกิจ(2561) การพัฒนาทักษะการ แก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นเสียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2561 สิริพร อาษาศึก นุกูลกุด แถลงและวันดี รักไร(2017) การส่งเสริมนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ด้วยกิจกรรม การเรียนรู้ตามรูปแบบของสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ ต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายงาน สืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรม สร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนไทยแลนด์ 4.0” สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ม.ป.ป.) โครงการประเมินผลนักเรียน นานาชาติ OECD/PISA. สืบค้นเมื่อ 25/7/59 จาก http://www.ipst.ac.th/pisa/index.html อุทัย ปริญญาสุทธินันท์(2016) การวิเคราะห์ SWOT แสงไฟส่องนำทางสู่การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ ชุมชนทำได้ Suranaree J. Soc. Sci. Vol. 10 No. 2; December 2016 (137-157) Andersson, Catarina (2015) Professional development in formative assessment: Effects on teacher classroom practice and student achievement Department of Science and Mathematics Education Retrieved on 10/7/2018 from: https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:807530/FULLTEXT01.pdf Beatty, Alexandra (2011) Successful STEM Education A Workshop Summary. Washington, D.C. The National Academies Press. Berry, B., Johnson, D., & Montgomery, D. (2005). “The power of teacher leadership.” Educational Leadership. Vol.62, No.5. Blanco, Lorenzo J.(online) Errors in the Teaching/Learning of the Basic Concepts of Geometry. Retrieved on 15 May 2016 from: www.cimt.plymouth.ac.uk/journal/lberrgeo.pdf Breiner, J. M., Carla, C. J., Harkness, S. S., & Koehler, C. M.. (2012). “What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and Shelly Sheats Harkness Partnerships” School Science and Mathematics, 112 (1), 3-11. Coman, Alex and Ronen, Boaz (2009) “Focused SWOT: diagnosing critical strengths and weaknesses” International Journal of Production Research Vol. 47, No. 20, 15 October 2009, 5677–5689. compaq4602213 (Online) การปฏิรูปการศึกษารอบสอง สืบค้นเมื่อ 10/4/2557 จาก https://compaq4602213.wordpress.com/tag/การปฏิรูปการศึกษารอบ-2 Creswell, John W. (2009 3rd Ed.) Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches. Los Angeles: SAGE. Darling-Hammond, Linda (2010) “Teacher Education and the American Future” Journal of Teacher Education. 61(1-2) 35–47 Ejiwale, James A. (2013). “Barriers to successful implementation of STEM education.” Journal of Education and Learning. Vol.7 (2) pp. 63-74. Lamphai Intathep, (2014) “ONESQA rates schools, unis poorly in student learning” Bangkok Post 28 Feb. Miller, Raegen T.; Murnane, Richard J. and Willett, John B.(2007) Do Teacher Absences Impact Student Achievement? Longitudinal Evidence from one Urban School District Working Paper 13356 National Bureau of Economic Research Mounier, Alain and Phasina Tangchuang(2010) “Quality: The Major Issue in Thai Education” in Mounier, Alain and Phasina Tangchuang(Editors) Education and Knowledge in Thailand: The Quality Controversy. Chiang Mai: Silkworm Books. _______(2018) “Quality issues of education in Thailand.” in Fry, Jerry(Editor) Educational in Thailand: An old elephant in search of a new mahout. Singapore: Springer. Phasina Tangchuang(2010) “Becoming a Reflexive Teacher: Lesson learned from Action HRD Research” a paper submitted to the 14th UNESCO-APEID International Conference Education for Human Resource Development 21- 23 October Bangkok, Thailand. Phasina Tangchuang and Alain Mounier(2552) “Research programmes and building research capacity within the CELS 2008-2011: experiences, lessons, perspective and prospects” ศึกษาศาสตร์สาร ปีที่ 36 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-ธันวาคม Pollard, Andrew; ANDERSON, Julie; Maddock, Mandy, Swaffield, Sue; Warin, Jo and Warwick, Paul(2008). Reflective Teaching: Evidence-informed Professional Practice(3rd Ed.) London: Continuum International Publishing Group Sumonta, Promboon; Finley, Fred N. And Kittisak Kaweekijmanee(2018). “The Evolution and current status of STEM Education in Thailand: Policy directions and recommendations.” In Fry, Jerry(Editor) Educational in Thailand: An old elephant in search of a new mahout. Singapore: Springer Tytler, Russell; Osborne, Jonathan; Williams, Gaye; Tytler, Kristen and Cripps Clark, John (2008) Opening up pathways: Engagement in STEM across the Primary-Secondary school transition : A review of the literature concerning supports and barriers to Science, Technology, Engineering and Mathematics engagement at Primary Secondary transition. Commissioned by the Australian Department of Education, Employment and Workplace Relations FINAL REPORT, June. Australian Department of Education, Employment and Workplace Relations. Visarut Tangchuang(2014). “Education and the school-to-work Transition: Comparing Policies and Practices in the Greater Mekhong Sub-region(GMS)” in Fashoyin, Tayo and Tiraboschi, Michele(Eds.) Tackling Youth unemployment. UK: Cambridge Scholars Publishing. Yeo, Roland K. Yeo(2008) “How does learning (not) take place in problem-based learning ctivities in workplace contexts?” Human Resource Development International. Vol. 11, No. 3, July, 317–330 Zidan, S. S.(2001) “The role of HRD in economic development” Human Resource Development Quarterly.12(4), 437- 43. Zaniewski, Anna M. and Reinholz, Daniel (2016) “Increasing STEM success: a near- peer mentoring program in the physical sciences” International Journal of STEM Education, 3:14

Wednesday, September 5, 2018

การบริหารจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคเหนือ Educational organizing model for sustainable development multiethnic students in northern Buddhist University


บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี 36 รูป/คน ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 3 รูป/คน และผู้ใช้บัณฑิต 8 รูป/คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลในช่วงปี 2554-2559 มหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลากหลายสาขาวิชาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มากกว่า  10 หลักสูตร จัดการเรียนการสอน 2 ภาคคือ ภาคปกติและภาคบ่ายสำหรับพระภิกษุและสามเณร มีนักศึกษามากกว่า 2,000 รูป/คน นักศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละร้อยมาจากชายขอบของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดข้างเคียง มากกว่าร้อยละ 70  ทำงานในเวลากลางคืนและหลังเลิกเรียน โดยเมื่อสำเร็จการศึกษา มากกว่าร้อยละ 80 ปฏิเสธที่จะกลับไปภูมิลำเนาของตนเองเนื่องจากอยู่ไกลความเจริญ ยากจน และไม่มีงานรองรับ จึงต้องการหางานทำในเมืองเชียงใหม่ ยกเว้นพระภิกษุหรือสามเณรที่มีตำแหน่งเป็นผู้รับผิดชอบสอนนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลดังกล่าวเกิดจาก ปรัชญาและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่มุ่งสนองกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาและเกณฑ์ของคุรุสภา มากกว่าดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเพิ่มมูลค่ากำลังคนที่มาจากชายขอบให้สามารถกลับไปพัฒนาบริบทของตนเองได้ จึงมีข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย ต้องมีอิสระในการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแก้วิกฤติด้วยตนเอง โดยการออกแบบโครงสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบท กระบวนการ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถนำประสบการณ์และองค์ความรู้ไปพัฒนาถิ่นกำเนิดได้ย่างยั่งยืนมากกว่าเน้นให้เดินตามโครงสร้างแบบเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ทั้งนี้เพื่อสร้างฐานความรู้ที่ต่อเชื่อมกับการมีความเป็น “คุณลักษณะอุดมศึกษา” สอดคล้องแนวนโยบายของรัฐบาลและของโลกที่ต้องการให้ “การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” และก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก
คำสำคัญ: การบริหารจัดการศึกษา  การพัฒนาอย่างยั่งยืน นักศึกษาพหุชาติพันธุ์  มหาวิทยาลัยสงฆ์
Corresponding Author. E-mail: phasina@yahoo.com
Abstract
This qualitative research paper aimed at presenting the study factors and conditions affected to organizing multiethnic students and to seek more effective educational organizing strategy for Buddhist University. Mahamakut Buddhist University Lanna campus was selected as a sample. Key informants were composed of 36 students, 8 graduate users and 3 administrators. Data were collected by document study, observation, in-depth interview and SWOT Analysis. The study found that more than 10 programs have been offering for around 2,000 students. Of which 100 percent of the undergraduate students are from marginal, poor education background, low income and surrounding provinces. More than 70 percent are employed in night service sectors. After graduation, they refuse to return to their homeland, but searching for jobs in Chiang Mai, except the monks who have taught in Buddhist Scripture schools.  This is a crisis. Factors of the crisis are from misused philosophy and educational organizing strategies which comply with the TQF: HEC and teachers’ professional standard. Mahamakut Buddhist University Lanna campus should be fully autonomous getting rid the crisis by reconstructing  curriculum according to their contexts, inputs, process and products rather than imitating other universities.  It is advised that curriculum must be designed for new higher educated characteristics according to their backgrounds and competency of multiethnic and marginal customers which serve the governmental and global policies that use education to invigorate grassroots economic development.
Keywords:  Educational organizing, sustainable development, multiethnic students, Buddhist University

Sunday, January 18, 2015

การเตรียมตัวเพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ

บทนำ
          การเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา หมายถึง ผู้ที่รับผิดชอบจัดการศึกษาที่สูงขึ้นต่อยอดจากระดับมัธยมศึกษา     คำว่า  อุดมศึกษา  มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี
"อุตม" หมายถึง “สูงสุด” และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง “การเล่าเรียน” ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การจัดการเรียนรู้ขั้นสูงสุดซึ่งเน้นการศึกษาวิจัยค้นคว้าโดยอิสระ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าสู่สมรรถนะดังกล่าว ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้รู้(A professor is a scholarly teacher) ผู้เรียนรู้ตลอดเวลาและมีผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาที่ตนอ้างว่าเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ขั้นสูงสุด(http://en.wikipedia.org/wiki/Professor) โดยการค้นคว้าวิจัยและนำเสนอผลการค้นพบหรือความเชี่ยวชาญของตนในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ(Tangchuang, Phasina & Mounier, Alain, 2010)
ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา แม้ว่าจะผ่านการศึกษาเล่าเรียนจนมีวุฒิ ปริญญาโทหรือปริญญาเอกมาแล้วก็ตาม ตามหลักสากลแล้วเมื่อได้ปฏิบัติงานสอนไประยะหนึ่งก็ต้องมีหน้าที่ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อวงการวิชาการในศาสตร์ที่ท่านรับผิดชอบสอนและเพื่อยืนยันว่าความรู้ที่สอนนั้นถูกต้องและทันสมัยโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัติที่มีระบบการค้า อุตสาหกรรมและการศึกษาข้ามชาติ (Michael, Steve,O, 2005; Rantz, Rick and Tangchuang, Phasina, 2005) ซึ่งการได้รับตำแหน่งทางวิชาการระดับใดก็แล้วแต่ผู้ได้รับตำแหน่งจะมี rate of return(Michael, Steve O., 2005) ค่อนข้างสูง เช่น ในสถาบันของรัฐจะได้รับผลตอบแทน เดือนละตั้งแต่ 5,600x2, 9,900x2 และ 13,00x2 ตามลำดับ 
สำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการของประเทศไทยนั้น ผู้สอนจะต้องเสนอความรู้ความเชี่ยวชาญของตนให้ผู้เชี่ยวชาญในระดับที่สูงกว่าเป็นผู้ประเมิน เพื่อตรวจสอบองค์ความรู้ที่ท่านเสนอว่ามีความเหมาะสมและเพียงพอสมควรได้รับการแต่งตั้งในระดับต่าง ๆ เพียงใด เช่น ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เป็นต้น สำหรับผู้สอนในระดับอุดมศึกษา

การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

          ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับอุดมศึกษา มี 3 ระดับ/ประเภท ประกอบด้วย
          1)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์
          2)  รองศาสตราจารย์
          3)  ศาสตราจารย์
          แต่ละระดับ/ประเภทมีเกณฑ์ ดังนี้
____________
* เอกสารประกอบการบรรยายเตรียมตัวเพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ ๒๐-๒๑ ตค.๒๕๕๗
**Ph.D(Adult Education) Florida State University ข้าราชการบำนาญ  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มี 2 วิธีคือ
1.      การขอโดยวิธีปกติ
2.      การขอโดยวิธีพิเศษ

     บทความนี้เน้นการทำความเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์     
การขอโดยวิธีปกติ
           ผู้ช่วยศาสตราจารย์(Assistant Professor) ใช้อักษรย่อว่า ผศ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการของผู้สอน ในระดับอุดมศึกษาที่สูงต่อจากตำแหน่งผู้สอน(instructor) และก่อนจะเป็นรองศาสตราจารย์ โดยเกณฑ์แล้ว ผู้เสนอขอตำแหน่งจะต้องมีชั่วโมงสอนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด  สำหรับผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับนี้จะต้องเสนอผลงาน ประกอบด้วย
1) เอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นผลงานแต่งหรือเรียบเรียงอย่างน้อย 1 รายวิชาไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต (เอกสารประกอบการสอนไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ แต่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการสอน) และ
2) ผลงานวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนีย-
บัตรใดๆ  หรือ
3) ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงาน ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรอง การใช้ประโยชน์ต่อสังคม หรือ
4) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด  หรือ
5) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด

โดยเกณฑ์ ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
·         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 ปี หรือ
·         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
·         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
·         ผู้ใดดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น แต่ได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
ซึ่งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา โดยคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
การขอโดยวิธีพิเศษ หมายถึง การขอตำแหน่งทางวิชาการที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอโดยวิธีปกติ เช่น
1)      อาจกำหนดให้อาจารย์ประจำดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์หรือศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นไม่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือ
2)      กำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นแก่ผู้ซึ่งมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งวิชาการปัจจุบันไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
        ซึ่งผู้เสนอขอจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าผลงานที่เสนอขอโดยวิธีปกติ ซึ่งได้แก่ ผลงานที่ได้รับการประเมินว่า ดีเยี่ยม

ในปี พ.ศ. 2556 มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 11,145 คน และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนจำนวน 996 คน
                ขณะเดียวกันในปี 2556 มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ของ ก.พ.อ. (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนี้
ตาราง ๑ เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เดิมก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และใหม่ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556
หลักเกณฑ์เดิม
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550)
หลักเกณฑ์ที่ปรับ/แก้ไข
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556)
การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(1) 1.1 ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี หรือ
(2) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด

การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(1) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ  หรือ
(2) ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงาน ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรอง การใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมิน ได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ตามที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.นี้  หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด  หรือ
(4) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด






ตาราง ๑ (ต่อ)

หลักเกณฑ์เดิม
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550)
หลักเกณฑ์ที่ปรับ/แก้ไข
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556)

การเสนอขอตําแหน่งทางวิชาการทุกตําแหน่ง
ทิศทางการศึกษาหรือวิจัย
ผลงานทางวิชาการสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการทุกตําแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่  เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
หมายเหตุ ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556
- การเสนอขอตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  :  เสนอผลงานทางวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงประเภทเดียวก็ได้

การขอโดยวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่ง               ผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ   แต่ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพ  ในระดับดีเด่น      
ตาราง ๒ เปรียบเทียบลักษณะผลงานทางวิชาการที่ขอเสนอโดยวิธีปกติและโดยวิธีพิเศษ
               
ตำแหน่ง
ผลงานสอน
ผลงานทางวิชาการ
เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
เหมือนกรณีปกติ
เหมือนกรณีปกติ
ผลงานทางวิชาการต้องมี
คุณภาพดีเด่น  โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการตัดสินต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 เสียง
รองศาสตราจารย์
เหมือนกรณีปกติ
เหมือนกรณีปกติ
ศาสตราจารย์
เหมือนกรณีปกติ
เหมือนเกณฑ์ชุดที่ 1
กรณีปกติ

การเทียบตำแหน่งทางวิชาการ
          การแต่งตั้งผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  ให้สภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัย  พิจารณาเทียบตำแหน่งและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป

การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
(ต้องดูเกณฑ์ล่าสุดประกอบด้วย เพราะมีเกณฑ์ใหม่ๆ ออกมาบ่อยมาก)
          ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ผู้เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ต้องใช้เกณฑ์ของคณะกรรมการ- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (.พ.อ.) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามหลักเกณฑ์ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 กล่าวคือ 
“๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ  ประกอบด้วยผลงาน  ต่อไปนี้
(๑)  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
          (๒)  ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ  หรือ
(๓)  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
(๔)  ผลงานวิชาการรับใช้สังคม  ซึ่งมีคุณภาพดี  โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่  ก.พ.อ.  กําหนด  รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม  โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม  โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้
1.      เอกสารประกอบการสอนจำนวน  1 วิชาและใช้สอนมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
(เอกสารประกอบการสอนไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ แต่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการสอน)
       2.  ผลงานวิจัย 1 เรื่อง
ในการขอกำหนดตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต้องยื่นผลงานวิจัย อย่างน้อย 1 เรื่องที่มีคุณภาพดีที่แสดงว่าท่านเป็นผู้ มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น โดยให้พิจารณาว่า  คุณภาพของงานสำคัญกว่าปริมาณ

อนึ่ง การเสนอผลงานวิจัย ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขแตกต่างกัน ดังนี้
                   2.1 สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จะเสนอเฉพาะ บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ แล้ว แทนงานวิจัย 1 เรื่อง
                   2.2 ในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องเสนอทั้ง ตัวเล่มวิจัยและ บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ เผยแพร่แล้ว จึงจะนับเป็นงานวิจัย  1  เรื่อง เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิต้องการดูระเบียบวิธีวิจัย


3.      ผลงานบทความทางวิชาการ
เป็นผลงานบทความทางวิชาการซึ่งได้นำเสนอในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติและมี
Proceeding หรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับสูง  หากไม่มี บทความทางวิชาการสามารถใช้ หนังสือหรือ ตำราแทนได้ ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ การขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานทางวิชาการประเภทหนังสือ ตำรา มีคุณภาพเทียบเท่ากับบทความทางวิชาการ แต่โดยปกติควรเสนอบทความทางวิชาการเนื่องจากทำได้ รวดเร็วกว่า

อนึ่ง การยื่นขอตำแหน่งด้วยผลงานวิจัย ที่ผู้ขอต้องมีส่วนร่วมมากกว่า ร้อยละ 50 หากมีส่วนร่วมในงานไม่ถึง  50% จะใช้ยื่นขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไม่ได้ 

ในขณะเดียวกันผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ งานวิจัย (ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิ ชาการ) หากผู้ขอมีส่วนร่วมในงานไม่ถึง 50% จะใช้ยื่นขอตำแหน่งไม่ได้  เพราะตามหลักเกณฑ์ ระบุไว้ว่า ผู้ขอจะต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 50% และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในเรื่องนั้น
สำหรับส่วนประกอบของหนังสือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย
ส่วนนำ ประกอบด้วย
·         ใบหุ้มปก
·         ปกหนังสือหรือปกนอก
·         สันหนังสือ
·         ใบรองปก
·         หน้าชื่อเรื่อง
·         หน้าปกใน
·         หน้าอุทิศ
·         กิตติกรรมประกาศ
·         คำนำ
·         สารบัญ
·         สารบัญภาพ ตาราง แผนภูมิ แผนที่
ส่วนของเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
·         โครงร่างเนื้อหาแต่ละบท สรุปสาระแต่ละบท (บท บทนำ บทสรุป ภาคหรือตอน เชิงอรรถ)
·         คำถามท้ายบท (ถ้ามี)
·         บทสรุป
ส่วนท้าย ได้แก่ เชิงอรรถ บรรณานุกรม ดรรชนี ภาคผนวก อธิบายศัพท์
ข้อแนะนำขั้นตอนในการเขียนตำรา
1.      ให้กำหนดหัวเรื่อง
2.      การค้นหาข้อมูล /การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัย/การจัดทำโครงเรื่อง/การวิเคราะห์งานวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.      สรรหา ถ่ายภาพประกอบ/การเขียนเนื้อร่าง ร่าง ๑ ร่าง ๒ ร่าง..
4.      การเขียนอ้างอิง แบบเชิงอรรถ/การบรรณานุกรม
5.      ดรรชนี ภาคผนวก อธิบายศัพท์





















ตาราง ๓ เปรียบเทียบลักษณะของตำรา หนังสือ เอกสารคำสอน และเอกสารประกอบการสอน

รายละเอียด
ตำรา
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารคำสอน
หนังสือ
1. คำจำกัดความ
หมายถึง เอกสารทางวิชาการ
ที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ 
อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตร โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำรามาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใด วิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นถึงเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ
หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อน
ให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน
หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ และ/หรือผู้อ่านทั่วไปโดยไม่จำเป็น ต้องเขียนตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้ จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการมั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอหนังสือมาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรือ อาจใช้ทั้งเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
2. ลักษณะการตีพิมพ์เผยแพร่
ได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์หรือถ่ายสำเนา เย็บเล่ม หรือจัดทำในรูปของสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม ซึ่งได้นำไปใช้ในการ เรียนการสอนและได้รับการเผยแพร่มาแล้ว
ได้รับการตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
ได้รับการตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
ได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ โดยได้รับการเผยแพร่มาแล้ว
3. ส่วนประกอบของเนื้อหา
คำนำ
สารบัญ
เนื้อหาวิชา
สรุปสาระสำคัญแต่ละบท
คำถามท้ายบท
บทสรุป
บรรณานุกรม
ดัชนี (ถ้ามี)
ภาคผนวก (ถ้ามี)
คำนำ
สารบัญ
แผนการสอน ได้แก่
- วัตถุประสงค์
- ขอบเขตวิชา
- วิธีการวัดผล
เนื้อหาวิชา
คำถามท้ายบท
บรรณานุกรม
คำนำ
สารบัญ
แผนการสอน ได้แก่
- วัตถุประสงค์
- ขอบเขตวิชา
- วิธีการวัดผล
เนื้อหาวิชา
คำถามท้ายบท
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (ถ้ามี)
คำนำ
สารบัญ
เนื้อหาวิชา
สรุปสาระสำคัญแต่ละบท
คำถามท้ายบท
บทสรุป
บรรณานุกรม
ดัชนี (ถ้ามี)
ภาคผนวก (ถ้ามี)
4. การระบุเลขมาตรฐานสากล ประจำหนังสือ..(ISBN)
สำนักพิมพ์ฯ เป็นผู้ดำเนินการขอISBN จากหอสมุดแห่งชาติ
ไม่ต้องระบุเลขมาตรฐานสากล ประจำหนังสือ (ISBN)
ไม่ต้องระบุเลขมาตรฐานสากล
ประจำหนังสือ (ISBN)
 สำนักพิมพ์ฯ เป็นผู้ดำเนินการขอISBN จากหอสมุดแห่งชาติ
จาก http://bupress.bu.ac.th/tips_compare.html

ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ.  ๒๕๕๖

๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ  ประกอบด้วยผลงาน  ต่อไปนี้
(๑)  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
          (๒)  ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ  หรือ
(๓)  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
(๔)  ผลงานวิชาการรับใช้สังคม  ซึ่งมีคุณภาพดี  โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่  ก.พ.อ.  กําหนด  รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม  โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม  โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ข้อ  ๓  ให้ยกเลิกคําจํากัดความของผลงานทางวิชาการ  ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จําแนกตามระดับคุณภาพของบทความทางวิชาการ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ  ก.พ.อ.  เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์(ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๕๐ และให้ใช้ตามที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ  ๔  การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษา
ได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการ  ให้ดําเนินการพิจารณากําหนดตําแหน่งตามข้อ  ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศนี้
ประกาศ  ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.







เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
-------------------
คําจํากัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะ การเผยแพร่และผลงานทางวิชาการ


บทความทางวิชาการ
คํานิยาม

งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกําหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ โดยมีการสํารวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนําความรู้จากแหล่งต่างๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย
รูปแบบ

ประกอบด้วยการนําความที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และบทสรุป มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์
การเผยแพร่

เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
๑. เผยแพร่ ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการ  ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกําหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
๒. เผยแพร่ ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ในหนังสือนั้นแล้ว
๓. เผยแพร่ ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ(Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นําเสนอนั้น    เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ บทความทางวิชาการนั้นแล้ว  การนํา บทความทางวิชาการนั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนํามาเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ บทความทางวิชาการนั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทําไม่ได้

เอกสารอ้างอิง
Carr, David (2003) Making Sense of Education: An introduction to the philosophy and theory of
                education and teaching. London and New York: RoutledgeFalmer.
Michael, Steve O. (2005) “Financing Higher Education in a Global Market: A Contextual Background” in
            Michael, Steve o. and Kretovics, Mark(Eds.) Financing Higher Education in a Global Market.
New York: Algora Publishing.


Rantz, Rick and Tangchuang, Phasina (2005) “Financing Higher Education in Thailand and Future
            Challenges” in Michael, Steve o. and Kretovics, Mark(Eds.) Financing Higher Education in a
                Global Market. New York: Algora Publishing.
Tangchuang, Phasina & Mounier, Alain (2010) Higher Education: Towards an Education Market?” in Mounier,
            Alain & Tangchuang, Phasina(Eds.) Education and Knowledge in Thailand: The Quality Controversy.
            Chiang Mai: Silkworm Books
งานพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (๒๕๕๖) การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. กองบริการการศึกษา
                มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์
ประกาศ ก.พ.อ(๒๕๕๖)  ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๑๐)พ.ศ.  ๒๕๕๖

สำนักงานอธิการบดี(๒๕๕๕) คู่มือการเข้าสู่ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม