บทนำ
การเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา หมายถึง ผู้ที่รับผิดชอบจัดการศึกษาที่สูงขึ้นต่อยอดจากระดับมัธยมศึกษา คำว่า อุดมศึกษา มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี
"อุตม" หมายถึง “สูงสุด” และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง “การเล่าเรียน”
ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การจัดการเรียนรู้ขั้นสูงสุดซึ่งเน้นการศึกษาวิจัยค้นคว้าโดยอิสระ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าสู่สมรรถนะดังกล่าว
ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้รู้(A professor is a scholarly teacher) ผู้เรียนรู้ตลอดเวลาและมีผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาที่ตนอ้างว่าเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ขั้นสูงสุด(http://en.wikipedia.org/wiki/Professor) โดยการค้นคว้าวิจัยและนำเสนอผลการค้นพบหรือความเชี่ยวชาญของตนในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ(Tangchuang,
Phasina & Mounier, Alain, 2010)
ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา
แม้ว่าจะผ่านการศึกษาเล่าเรียนจนมีวุฒิ ปริญญาโทหรือปริญญาเอกมาแล้วก็ตาม
ตามหลักสากลแล้วเมื่อได้ปฏิบัติงานสอนไประยะหนึ่งก็ต้องมีหน้าที่ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ
เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อวงการวิชาการในศาสตร์ที่ท่านรับผิดชอบสอนและเพื่อยืนยันว่าความรู้ที่สอนนั้นถูกต้องและทันสมัยโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัติที่มีระบบการค้า
อุตสาหกรรมและการศึกษาข้ามชาติ (Michael, Steve,O, 2005; Rantz, Rick and
Tangchuang, Phasina, 2005) ซึ่งการได้รับตำแหน่งทางวิชาการระดับใดก็แล้วแต่ผู้ได้รับตำแหน่งจะมี
rate of return(Michael, Steve O., 2005) ค่อนข้างสูง เช่น
ในสถาบันของรัฐจะได้รับผลตอบแทน เดือนละตั้งแต่ 5,600x2, 9,900x2 และ 13,00x2 ตามลำดับ
สำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการของประเทศไทยนั้น
ผู้สอนจะต้องเสนอความรู้ความเชี่ยวชาญของตนให้ผู้เชี่ยวชาญในระดับที่สูงกว่าเป็นผู้ประเมิน
เพื่อตรวจสอบองค์ความรู้ที่ท่านเสนอว่ามีความเหมาะสมและเพียงพอสมควรได้รับการแต่งตั้งในระดับต่าง
ๆ เพียงใด เช่น ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เป็นต้น
สำหรับผู้สอนในระดับอุดมศึกษา
การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับอุดมศึกษา
มี 3
ระดับ/ประเภท ประกอบด้วย
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
2) รองศาสตราจารย์
3) ศาสตราจารย์
แต่ละระดับ/ประเภทมีเกณฑ์ ดังนี้
____________
* เอกสารประกอบการบรรยายเตรียมตัวเพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ
๒๐-๒๑ ตค.๒๕๕๗
**Ph.D(Adult
Education) Florida State University ข้าราชการบำนาญ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน
ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขตล้านนา
ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มี 2 วิธีคือ
1.
การขอโดยวิธีปกติ
2.
การขอโดยวิธีพิเศษ
บทความนี้เน้นการทำความเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
การขอโดยวิธีปกติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์(Assistant Professor) ใช้อักษรย่อว่า ผศ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการของผู้สอน ในระดับอุดมศึกษาที่สูงต่อจากตำแหน่งผู้สอน(instructor) และก่อนจะเป็นรองศาสตราจารย์ โดยเกณฑ์แล้ว
ผู้เสนอขอตำแหน่งจะต้องมีชั่วโมงสอนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด สำหรับผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับนี้จะต้องเสนอผลงาน
ประกอบด้วย
1) เอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นผลงานแต่งหรือเรียบเรียงอย่างน้อย 1 รายวิชาไม่น้อยกว่า 3
หน่วยกิต (เอกสารประกอบการสอนไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ
แต่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการสอน) และ
2) ผลงานวิจัย
ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนีย-
บัตรใดๆ หรือ
3) ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงาน ซึ่งสถาบัน
อุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด
รวมทั้งได้รับการรับรอง การใช้ประโยชน์ต่อสังคม หรือ
4) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด
หรือ
5) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด
โดยเกณฑ์ ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
·
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 9
ปี หรือ
·
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5
ปี หรือ
·
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี หรือ
·
ผู้ใดดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
แต่ได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
ซึ่งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา
โดยคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
การขอโดยวิธีพิเศษ หมายถึง การขอตำแหน่งทางวิชาการที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอโดยวิธีปกติ
เช่น
1)
อาจกำหนดให้อาจารย์ประจำดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์หรือศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นไม่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือ
2)
กำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นแก่ผู้ซึ่งมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งวิชาการปัจจุบันไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ซึ่งผู้เสนอขอจะต้องเป็นผู้มีความรู้
ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าผลงานที่เสนอขอโดยวิธีปกติ ซึ่งได้แก่
ผลงานที่ได้รับการประเมินว่า ดีเยี่ยม
ในปี พ.ศ. 2556 มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
จำนวน 11,145 คน และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนจำนวน 996
คน
ขณะเดียวกันในปี
2556
มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ของ ก.พ.อ. (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนี้
ตาราง ๑ เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
เดิมก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และใหม่ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556
หลักเกณฑ์เดิม
(ประกาศ
ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2550)
|
หลักเกณฑ์ที่ปรับ/แก้ไข
(ประกาศ
ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10)
พ.ศ.2556)
|
การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการ
ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(1) 1.1
ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กําหนด
ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ
หรือ
1.2
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี หรือ
(2) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง
ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด
|
การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน
ต่อไปนี้
(1) ผลงานวิจัย
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กําหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
(2) ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงาน
ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรอง การใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมิน ได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.นี้ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด หรือ
(4) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง
ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด
|
ตาราง
๑ (ต่อ)
หลักเกณฑ์เดิม
(ประกาศ
ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2550)
|
หลักเกณฑ์ที่ปรับ/แก้ไข
(ประกาศ
ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10)
พ.ศ.2556)
|
|
การเสนอขอตําแหน่งทางวิชาการทุกตําแหน่ง
ทิศทางการศึกษาหรือวิจัย
ผลงานทางวิชาการสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการทุกตําแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่ง
หรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
|
หมายเหตุ ประกาศ ก.พ.อ.
(ฉบับที่ 10)
พ.ศ. 2556
-
การเสนอขอตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ :
เสนอผลงานทางวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงประเภทเดียวก็ได้
การขอโดยวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และรองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ แต่ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพ ในระดับดีเด่น
ตาราง ๒
เปรียบเทียบลักษณะผลงานทางวิชาการที่ขอเสนอโดยวิธีปกติและโดยวิธีพิเศษ
ตำแหน่ง
|
ผลงานสอน
|
ผลงานทางวิชาการ
|
เกณฑ์การตัดสิน
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
|
เหมือนกรณีปกติ
|
เหมือนกรณีปกติ
|
ผลงานทางวิชาการต้องมี
คุณภาพดีเด่น โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน
5 คน โดยการตัดสินต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 เสียง
|
รองศาสตราจารย์
|
เหมือนกรณีปกติ
|
เหมือนกรณีปกติ
|
|
ศาสตราจารย์
|
เหมือนกรณีปกติ
|
เหมือนเกณฑ์ชุดที่
1
กรณีปกติ
|
การเทียบตำแหน่งทางวิชาการ
การแต่งตั้งผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ให้สภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัย
พิจารณาเทียบตำแหน่งและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
(ต้องดูเกณฑ์ล่าสุดประกอบด้วย
เพราะมีเกณฑ์ใหม่ๆ ออกมาบ่อยมาก)
ตัวอย่างเช่น
ตั้งแต่ปี 2556
เป็นต้นไป ผู้เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ต้องใช้เกณฑ์ของคณะกรรมการ- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ก.พ.อ.) เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามหลักเกณฑ์ประกาศ
ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 กล่าวคือ
“๕.๑.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ
หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.
กําหนด หรือ
(๔) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ”
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้
1.
“เอกสารประกอบการสอน” จำนวน 1
วิชาและใช้สอนมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
(เอกสารประกอบการสอนไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ
แต่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการสอน)
2.
ผลงานวิจัย 1 เรื่อง
ในการขอกำหนดตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต้องยื่นผลงานวิจัย อย่างน้อย 1 เรื่องที่มีคุณภาพดีที่แสดงว่าท่านเป็นผู้
มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น โดยให้พิจารณาว่า “คุณภาพของงานสำคัญกว่าปริมาณ”
อนึ่ง การเสนอผลงานวิจัย
ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขแตกต่างกัน
ดังนี้
2.1
สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเสนอเฉพาะ “บทความวิจัย”
ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ แล้ว แทนงานวิจัย 1 เรื่อง
2.2
ในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จะต้องเสนอทั้ง “ตัวเล่มวิจัย” และ “บทความวิจัย” ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่แล้ว
จึงจะนับเป็นงานวิจัย 1 เรื่อง เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิต้องการดูระเบียบวิธีวิจัย
3.
ผลงานบทความทางวิชาการ
เป็นผลงานบทความทางวิชาการซึ่งได้นำเสนอในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติและมี
Proceeding หรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับสูง หากไม่มี “บทความทางวิชาการ” สามารถใช้ “หนังสือ” หรือ “ตำรา” แทนได้ ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ การขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการประเภทหนังสือ ตำรา มีคุณภาพเทียบเท่ากับบทความทางวิชาการ แต่โดยปกติควรเสนอบทความทางวิชาการเนื่องจากทำได้
รวดเร็วกว่า
อนึ่ง
การยื่นขอตำแหน่งด้วยผลงานวิจัย ที่ผู้ขอต้องมีส่วนร่วมมากกว่า ร้อยละ 50 หากมีส่วนร่วมในงานไม่ถึง 50% จะใช้ยื่นขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไม่ได้
ในขณะเดียวกันผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่
งานวิจัย (ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิ ชาการ) หากผู้ขอมีส่วนร่วมในงานไม่ถึง 50% จะใช้ยื่นขอตำแหน่งไม่ได้
เพราะตามหลักเกณฑ์ ระบุไว้ว่า ผู้ขอจะต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 50%
และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในเรื่องนั้น
สำหรับส่วนประกอบของหนังสือ
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย
ส่วนนำ ประกอบด้วย
·
ใบหุ้มปก
·
ปกหนังสือหรือปกนอก
·
สันหนังสือ
·
ใบรองปก
·
หน้าชื่อเรื่อง
·
หน้าปกใน
·
หน้าอุทิศ
·
กิตติกรรมประกาศ
·
คำนำ
·
สารบัญ
·
สารบัญภาพ ตาราง แผนภูมิ แผนที่
ส่วนของเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
·
โครงร่างเนื้อหาแต่ละบท สรุปสาระแต่ละบท (บท บทนำ บทสรุป
ภาคหรือตอน เชิงอรรถ)
·
คำถามท้ายบท (ถ้ามี)
·
บทสรุป
ส่วนท้าย ได้แก่ เชิงอรรถ
บรรณานุกรม ดรรชนี ภาคผนวก อธิบายศัพท์
ข้อแนะนำขั้นตอนในการเขียนตำรา
1. ให้กำหนดหัวเรื่อง
2. การค้นหาข้อมูล
/การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัย/การจัดทำโครงเรื่อง/การวิเคราะห์งานวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. สรรหา
ถ่ายภาพประกอบ/การเขียนเนื้อร่าง ร่าง ๑ ร่าง ๒ ร่าง..
4. การเขียนอ้างอิง แบบเชิงอรรถ/การบรรณานุกรม
5. ดรรชนี ภาคผนวก
อธิบายศัพท์
ตาราง ๓
เปรียบเทียบลักษณะของตำรา หนังสือ เอกสารคำสอน และเอกสารประกอบการสอน
รายละเอียด
|
ตำรา
|
เอกสารประกอบการสอน
|
เอกสารคำสอน
|
หนังสือ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. คำจำกัดความ
|
หมายถึง เอกสารทางวิชาการ
ที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตร โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำรามาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม |
หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใด
วิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
ที่สะท้อนให้เห็นถึงเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ
|
หมายถึง
เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง
ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อน
ให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน |
หมายถึง
เอกสารทางวิชาการที่เขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ และ/หรือผู้อ่านทั่วไปโดยไม่จำเป็น
ต้องเขียนตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง
ทั้งนี้ จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ
มีรากฐานทางวิชาการมั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด
และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอหนังสือมาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรือ
อาจใช้ทั้งเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ลักษณะการตีพิมพ์เผยแพร่
|
ได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์หรือถ่ายสำเนา
เย็บเล่ม หรือจัดทำในรูปของสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม ซึ่งได้นำไปใช้ในการ เรียนการสอนและได้รับการเผยแพร่มาแล้ว
|
ได้รับการตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
|
ได้รับการตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
|
ได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์
โดยได้รับการเผยแพร่มาแล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ส่วนประกอบของเนื้อหา
|
|
|
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. การระบุเลขมาตรฐานสากล
ประจำหนังสือ..(ISBN)
|
สำนักพิมพ์ฯ
เป็นผู้ดำเนินการขอISBN จากหอสมุดแห่งชาติ
|
ไม่ต้องระบุเลขมาตรฐานสากล
ประจำหนังสือ (ISBN)
|
ไม่ต้องระบุเลขมาตรฐานสากล
ประจำหนังสือ (ISBN) |
สำนักพิมพ์ฯ
เป็นผู้ดำเนินการขอISBN จากหอสมุดแห่งชาติ
|
จาก http://bupress.bu.ac.th/tips_compare.html
|
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๕๖
“๕.๑.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ
หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กําหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.
กําหนด หรือ
(๔) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กําหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ”
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกคําจํากัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จําแนกตามระดับคุณภาพของบทความทางวิชาการ
ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐
และให้ใช้ตามที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษา
ได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการ ให้ดําเนินการพิจารณากําหนดตําแหน่งตามข้อ ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
เอกสารแนบท้ายประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
-------------------
คําจํากัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะ การเผยแพร่และผลงานทางวิชาการ
|
บทความทางวิชาการ
|
คํานิยาม
|
งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกําหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน
ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ โดยมีการสํารวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้
อาจเป็นการนําความรู้จากแหล่งต่างๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย
|
รูปแบบ
|
ประกอบด้วยการนําความที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และบทสรุป
มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์
|
การเผยแพร่
|
เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
๑.
เผยแพร่ ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกําหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
๒.
เผยแพร่
ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ
ในหนังสือนั้นแล้ว
๓.
เผยแพร่ ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ(Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
ที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นําเสนอนั้น เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ
“บทความทางวิชาการ” นั้นแล้ว การนํา “บทความทางวิชาการ”
นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง
เพื่อนํามาเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “บทความทางวิชาการ” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทําไม่ได้
|
เอกสารอ้างอิง
Carr,
David (2003) Making Sense of Education: An introduction to the philosophy
and theory of
education and teaching. London and New
York: RoutledgeFalmer.
Michael,
Steve O. (2005) “Financing Higher Education in a Global Market: A Contextual
Background” in
Michael,
Steve o. and Kretovics, Mark(Eds.) Financing Higher Education in a Global
Market.
New York: Algora Publishing.
Rantz,
Rick and Tangchuang, Phasina (2005) “Financing Higher Education in Thailand and
Future
Challenges” in Michael, Steve
o. and Kretovics, Mark(Eds.) Financing Higher Education in a
Global Market. New York:
Algora Publishing.
Tangchuang, Phasina & Mounier,
Alain (2010) Higher Education: Towards an Education
Market?” in Mounier,
Alain
& Tangchuang, Phasina(Eds.) Education and Knowledge in Thailand: The
Quality Controversy.
Chiang
Mai: Silkworm Books
งานพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (๒๕๕๖) การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ
ก.พ.อ. กองบริการการศึกษา
มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์
ประกาศ ก.พ.อ(๒๕๕๖) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๑๐)พ.ศ. ๒๕๕๖
สำนักงานอธิการบดี(๒๕๕๕) คู่มือการเข้าสู่ตำแหน่ง
“ผู้ช่วยศาสตราจารย์”
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
No comments:
Post a Comment