Sunday, January 18, 2015

การเตรียมตัวเพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ

บทนำ
          การเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา หมายถึง ผู้ที่รับผิดชอบจัดการศึกษาที่สูงขึ้นต่อยอดจากระดับมัธยมศึกษา     คำว่า  อุดมศึกษา  มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี
"อุตม" หมายถึง “สูงสุด” และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง “การเล่าเรียน” ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การจัดการเรียนรู้ขั้นสูงสุดซึ่งเน้นการศึกษาวิจัยค้นคว้าโดยอิสระ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าสู่สมรรถนะดังกล่าว ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้รู้(A professor is a scholarly teacher) ผู้เรียนรู้ตลอดเวลาและมีผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาที่ตนอ้างว่าเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ขั้นสูงสุด(http://en.wikipedia.org/wiki/Professor) โดยการค้นคว้าวิจัยและนำเสนอผลการค้นพบหรือความเชี่ยวชาญของตนในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ(Tangchuang, Phasina & Mounier, Alain, 2010)
ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา แม้ว่าจะผ่านการศึกษาเล่าเรียนจนมีวุฒิ ปริญญาโทหรือปริญญาเอกมาแล้วก็ตาม ตามหลักสากลแล้วเมื่อได้ปฏิบัติงานสอนไประยะหนึ่งก็ต้องมีหน้าที่ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อวงการวิชาการในศาสตร์ที่ท่านรับผิดชอบสอนและเพื่อยืนยันว่าความรู้ที่สอนนั้นถูกต้องและทันสมัยโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัติที่มีระบบการค้า อุตสาหกรรมและการศึกษาข้ามชาติ (Michael, Steve,O, 2005; Rantz, Rick and Tangchuang, Phasina, 2005) ซึ่งการได้รับตำแหน่งทางวิชาการระดับใดก็แล้วแต่ผู้ได้รับตำแหน่งจะมี rate of return(Michael, Steve O., 2005) ค่อนข้างสูง เช่น ในสถาบันของรัฐจะได้รับผลตอบแทน เดือนละตั้งแต่ 5,600x2, 9,900x2 และ 13,00x2 ตามลำดับ 
สำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการของประเทศไทยนั้น ผู้สอนจะต้องเสนอความรู้ความเชี่ยวชาญของตนให้ผู้เชี่ยวชาญในระดับที่สูงกว่าเป็นผู้ประเมิน เพื่อตรวจสอบองค์ความรู้ที่ท่านเสนอว่ามีความเหมาะสมและเพียงพอสมควรได้รับการแต่งตั้งในระดับต่าง ๆ เพียงใด เช่น ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เป็นต้น สำหรับผู้สอนในระดับอุดมศึกษา

การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

          ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับอุดมศึกษา มี 3 ระดับ/ประเภท ประกอบด้วย
          1)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์
          2)  รองศาสตราจารย์
          3)  ศาสตราจารย์
          แต่ละระดับ/ประเภทมีเกณฑ์ ดังนี้
____________
* เอกสารประกอบการบรรยายเตรียมตัวเพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ ๒๐-๒๑ ตค.๒๕๕๗
**Ph.D(Adult Education) Florida State University ข้าราชการบำนาญ  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มี 2 วิธีคือ
1.      การขอโดยวิธีปกติ
2.      การขอโดยวิธีพิเศษ

     บทความนี้เน้นการทำความเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์     
การขอโดยวิธีปกติ
           ผู้ช่วยศาสตราจารย์(Assistant Professor) ใช้อักษรย่อว่า ผศ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการของผู้สอน ในระดับอุดมศึกษาที่สูงต่อจากตำแหน่งผู้สอน(instructor) และก่อนจะเป็นรองศาสตราจารย์ โดยเกณฑ์แล้ว ผู้เสนอขอตำแหน่งจะต้องมีชั่วโมงสอนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด  สำหรับผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับนี้จะต้องเสนอผลงาน ประกอบด้วย
1) เอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นผลงานแต่งหรือเรียบเรียงอย่างน้อย 1 รายวิชาไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต (เอกสารประกอบการสอนไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ แต่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการสอน) และ
2) ผลงานวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนีย-
บัตรใดๆ  หรือ
3) ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงาน ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรอง การใช้ประโยชน์ต่อสังคม หรือ
4) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด  หรือ
5) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด

โดยเกณฑ์ ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
·         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 ปี หรือ
·         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
·         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
·         ผู้ใดดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น แต่ได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
ซึ่งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา โดยคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
การขอโดยวิธีพิเศษ หมายถึง การขอตำแหน่งทางวิชาการที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอโดยวิธีปกติ เช่น
1)      อาจกำหนดให้อาจารย์ประจำดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์หรือศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นไม่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือ
2)      กำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นแก่ผู้ซึ่งมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งวิชาการปัจจุบันไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
        ซึ่งผู้เสนอขอจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าผลงานที่เสนอขอโดยวิธีปกติ ซึ่งได้แก่ ผลงานที่ได้รับการประเมินว่า ดีเยี่ยม

ในปี พ.ศ. 2556 มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 11,145 คน และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนจำนวน 996 คน
                ขณะเดียวกันในปี 2556 มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ของ ก.พ.อ. (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนี้
ตาราง ๑ เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เดิมก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และใหม่ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556
หลักเกณฑ์เดิม
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550)
หลักเกณฑ์ที่ปรับ/แก้ไข
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556)
การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(1) 1.1 ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี หรือ
(2) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด

การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(1) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ  หรือ
(2) ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงาน ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรอง การใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมิน ได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ตามที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.นี้  หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด  หรือ
(4) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด






ตาราง ๑ (ต่อ)

หลักเกณฑ์เดิม
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550)
หลักเกณฑ์ที่ปรับ/แก้ไข
(ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556)

การเสนอขอตําแหน่งทางวิชาการทุกตําแหน่ง
ทิศทางการศึกษาหรือวิจัย
ผลงานทางวิชาการสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการทุกตําแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่  เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
หมายเหตุ ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556
- การเสนอขอตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  :  เสนอผลงานทางวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงประเภทเดียวก็ได้

การขอโดยวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่ง               ผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ   แต่ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพ  ในระดับดีเด่น      
ตาราง ๒ เปรียบเทียบลักษณะผลงานทางวิชาการที่ขอเสนอโดยวิธีปกติและโดยวิธีพิเศษ
               
ตำแหน่ง
ผลงานสอน
ผลงานทางวิชาการ
เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
เหมือนกรณีปกติ
เหมือนกรณีปกติ
ผลงานทางวิชาการต้องมี
คุณภาพดีเด่น  โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการตัดสินต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 เสียง
รองศาสตราจารย์
เหมือนกรณีปกติ
เหมือนกรณีปกติ
ศาสตราจารย์
เหมือนกรณีปกติ
เหมือนเกณฑ์ชุดที่ 1
กรณีปกติ

การเทียบตำแหน่งทางวิชาการ
          การแต่งตั้งผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  ให้สภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัย  พิจารณาเทียบตำแหน่งและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป

การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
(ต้องดูเกณฑ์ล่าสุดประกอบด้วย เพราะมีเกณฑ์ใหม่ๆ ออกมาบ่อยมาก)
          ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ผู้เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ต้องใช้เกณฑ์ของคณะกรรมการ- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (.พ.อ.) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามหลักเกณฑ์ประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 กล่าวคือ 
“๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ  ประกอบด้วยผลงาน  ต่อไปนี้
(๑)  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
          (๒)  ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ  หรือ
(๓)  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
(๔)  ผลงานวิชาการรับใช้สังคม  ซึ่งมีคุณภาพดี  โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่  ก.พ.อ.  กําหนด  รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม  โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม  โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้
1.      เอกสารประกอบการสอนจำนวน  1 วิชาและใช้สอนมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
(เอกสารประกอบการสอนไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ แต่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการสอน)
       2.  ผลงานวิจัย 1 เรื่อง
ในการขอกำหนดตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต้องยื่นผลงานวิจัย อย่างน้อย 1 เรื่องที่มีคุณภาพดีที่แสดงว่าท่านเป็นผู้ มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น โดยให้พิจารณาว่า  คุณภาพของงานสำคัญกว่าปริมาณ

อนึ่ง การเสนอผลงานวิจัย ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขแตกต่างกัน ดังนี้
                   2.1 สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จะเสนอเฉพาะ บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ แล้ว แทนงานวิจัย 1 เรื่อง
                   2.2 ในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องเสนอทั้ง ตัวเล่มวิจัยและ บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ เผยแพร่แล้ว จึงจะนับเป็นงานวิจัย  1  เรื่อง เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิต้องการดูระเบียบวิธีวิจัย


3.      ผลงานบทความทางวิชาการ
เป็นผลงานบทความทางวิชาการซึ่งได้นำเสนอในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติและมี
Proceeding หรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับสูง  หากไม่มี บทความทางวิชาการสามารถใช้ หนังสือหรือ ตำราแทนได้ ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ การขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานทางวิชาการประเภทหนังสือ ตำรา มีคุณภาพเทียบเท่ากับบทความทางวิชาการ แต่โดยปกติควรเสนอบทความทางวิชาการเนื่องจากทำได้ รวดเร็วกว่า

อนึ่ง การยื่นขอตำแหน่งด้วยผลงานวิจัย ที่ผู้ขอต้องมีส่วนร่วมมากกว่า ร้อยละ 50 หากมีส่วนร่วมในงานไม่ถึง  50% จะใช้ยื่นขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไม่ได้ 

ในขณะเดียวกันผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ งานวิจัย (ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิ ชาการ) หากผู้ขอมีส่วนร่วมในงานไม่ถึง 50% จะใช้ยื่นขอตำแหน่งไม่ได้  เพราะตามหลักเกณฑ์ ระบุไว้ว่า ผู้ขอจะต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 50% และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในเรื่องนั้น
สำหรับส่วนประกอบของหนังสือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย
ส่วนนำ ประกอบด้วย
·         ใบหุ้มปก
·         ปกหนังสือหรือปกนอก
·         สันหนังสือ
·         ใบรองปก
·         หน้าชื่อเรื่อง
·         หน้าปกใน
·         หน้าอุทิศ
·         กิตติกรรมประกาศ
·         คำนำ
·         สารบัญ
·         สารบัญภาพ ตาราง แผนภูมิ แผนที่
ส่วนของเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
·         โครงร่างเนื้อหาแต่ละบท สรุปสาระแต่ละบท (บท บทนำ บทสรุป ภาคหรือตอน เชิงอรรถ)
·         คำถามท้ายบท (ถ้ามี)
·         บทสรุป
ส่วนท้าย ได้แก่ เชิงอรรถ บรรณานุกรม ดรรชนี ภาคผนวก อธิบายศัพท์
ข้อแนะนำขั้นตอนในการเขียนตำรา
1.      ให้กำหนดหัวเรื่อง
2.      การค้นหาข้อมูล /การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัย/การจัดทำโครงเรื่อง/การวิเคราะห์งานวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.      สรรหา ถ่ายภาพประกอบ/การเขียนเนื้อร่าง ร่าง ๑ ร่าง ๒ ร่าง..
4.      การเขียนอ้างอิง แบบเชิงอรรถ/การบรรณานุกรม
5.      ดรรชนี ภาคผนวก อธิบายศัพท์





















ตาราง ๓ เปรียบเทียบลักษณะของตำรา หนังสือ เอกสารคำสอน และเอกสารประกอบการสอน

รายละเอียด
ตำรา
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารคำสอน
หนังสือ
1. คำจำกัดความ
หมายถึง เอกสารทางวิชาการ
ที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ 
อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตร โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำรามาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใด วิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นถึงเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ
หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อน
ให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน
หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ และ/หรือผู้อ่านทั่วไปโดยไม่จำเป็น ต้องเขียนตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้ จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการมั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอหนังสือมาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรือ อาจใช้ทั้งเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
2. ลักษณะการตีพิมพ์เผยแพร่
ได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์หรือถ่ายสำเนา เย็บเล่ม หรือจัดทำในรูปของสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม ซึ่งได้นำไปใช้ในการ เรียนการสอนและได้รับการเผยแพร่มาแล้ว
ได้รับการตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
ได้รับการตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
ได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ โดยได้รับการเผยแพร่มาแล้ว
3. ส่วนประกอบของเนื้อหา
คำนำ
สารบัญ
เนื้อหาวิชา
สรุปสาระสำคัญแต่ละบท
คำถามท้ายบท
บทสรุป
บรรณานุกรม
ดัชนี (ถ้ามี)
ภาคผนวก (ถ้ามี)
คำนำ
สารบัญ
แผนการสอน ได้แก่
- วัตถุประสงค์
- ขอบเขตวิชา
- วิธีการวัดผล
เนื้อหาวิชา
คำถามท้ายบท
บรรณานุกรม
คำนำ
สารบัญ
แผนการสอน ได้แก่
- วัตถุประสงค์
- ขอบเขตวิชา
- วิธีการวัดผล
เนื้อหาวิชา
คำถามท้ายบท
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (ถ้ามี)
คำนำ
สารบัญ
เนื้อหาวิชา
สรุปสาระสำคัญแต่ละบท
คำถามท้ายบท
บทสรุป
บรรณานุกรม
ดัชนี (ถ้ามี)
ภาคผนวก (ถ้ามี)
4. การระบุเลขมาตรฐานสากล ประจำหนังสือ..(ISBN)
สำนักพิมพ์ฯ เป็นผู้ดำเนินการขอISBN จากหอสมุดแห่งชาติ
ไม่ต้องระบุเลขมาตรฐานสากล ประจำหนังสือ (ISBN)
ไม่ต้องระบุเลขมาตรฐานสากล
ประจำหนังสือ (ISBN)
 สำนักพิมพ์ฯ เป็นผู้ดำเนินการขอISBN จากหอสมุดแห่งชาติ
จาก http://bupress.bu.ac.th/tips_compare.html

ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ.  ๒๕๕๖

๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ  ประกอบด้วยผลงาน  ต่อไปนี้
(๑)  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
          (๒)  ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.  กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ  หรือ
(๓)  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.  กําหนด หรือ
(๔)  ผลงานวิชาการรับใช้สังคม  ซึ่งมีคุณภาพดี  โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่  ก.พ.อ.  กําหนด  รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม  โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม  โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ข้อ  ๓  ให้ยกเลิกคําจํากัดความของผลงานทางวิชาการ  ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จําแนกตามระดับคุณภาพของบทความทางวิชาการ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ  ก.พ.อ.  เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์(ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๕๐ และให้ใช้ตามที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ  ๔  การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษา
ได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการ  ให้ดําเนินการพิจารณากําหนดตําแหน่งตามข้อ  ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศนี้
ประกาศ  ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.







เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
-------------------
คําจํากัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะ การเผยแพร่และผลงานทางวิชาการ


บทความทางวิชาการ
คํานิยาม

งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกําหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ โดยมีการสํารวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนําความรู้จากแหล่งต่างๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย
รูปแบบ

ประกอบด้วยการนําความที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และบทสรุป มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์
การเผยแพร่

เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
๑. เผยแพร่ ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการ  ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกําหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
๒. เผยแพร่ ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ในหนังสือนั้นแล้ว
๓. เผยแพร่ ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ(Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นําเสนอนั้น    เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ บทความทางวิชาการนั้นแล้ว  การนํา บทความทางวิชาการนั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนํามาเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ บทความทางวิชาการนั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทําไม่ได้

เอกสารอ้างอิง
Carr, David (2003) Making Sense of Education: An introduction to the philosophy and theory of
                education and teaching. London and New York: RoutledgeFalmer.
Michael, Steve O. (2005) “Financing Higher Education in a Global Market: A Contextual Background” in
            Michael, Steve o. and Kretovics, Mark(Eds.) Financing Higher Education in a Global Market.
New York: Algora Publishing.


Rantz, Rick and Tangchuang, Phasina (2005) “Financing Higher Education in Thailand and Future
            Challenges” in Michael, Steve o. and Kretovics, Mark(Eds.) Financing Higher Education in a
                Global Market. New York: Algora Publishing.
Tangchuang, Phasina & Mounier, Alain (2010) Higher Education: Towards an Education Market?” in Mounier,
            Alain & Tangchuang, Phasina(Eds.) Education and Knowledge in Thailand: The Quality Controversy.
            Chiang Mai: Silkworm Books
งานพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (๒๕๕๖) การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. กองบริการการศึกษา
                มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์
ประกาศ ก.พ.อ(๒๕๕๖)  ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ ๑๐)พ.ศ.  ๒๕๕๖

สำนักงานอธิการบดี(๒๕๕๕) คู่มือการเข้าสู่ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม